1.เล่นเกม
2.หาข้อมูลต่างๆ
3.ดูหนัง
4.ฟังเพลง
5.คุยกับเพื่อน
วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551
VLsI คืออะไร
วีแอลเอสไอ <คำอ่าน>ย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) คือชิป (chip) ที่สามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มากมีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์ คือ เป็นตัวเดียวเก็บหน่วยควบคุมและหน่วยคำนวณ/ตรรกะ (Control Unit and Arithmetics/Logical Unit) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อมูลกับสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูลดิบที่มีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก เป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป สารสนเทศ ในระบบคอมพิวเตอ ร์หมายถึง ผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้ว เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของผู้ใช้ ผลลัพธ์หรือ output นี้เรียกว่า สารสนเทศ (information) ซึ่งสามารถนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในระดับต่อไป เช่น เป็นการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม สังเคราะห์ ประเมิน รวมทั้งปรับปรุงตามที่ผู้ใช้ต้องการ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
คอมพิวเตอร์แบบฝัง
คอมพิวเตอร์มีกีประเภท
ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น
มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )
ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน
ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551
โน้ตบุ๊กเครื่องที่สอง?
ยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้บริโภคต้องการโน้ตบุ๊กที่สามารถติดตัว เพื่อใช้งานได้ในทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนนักศึกษาที่ต้องการโน้ตบุ๊กขนาดกะทัดรัด สามารถตอบโจทย์รูปแบบการเรียนรู้ในปัจจุบัน ตลอดจนนักธุรกิจ SMEs ที่ต้องการความคล่องตัวในการสื่อสาร และนำเสนองานกับลูกค้า คำตอบสุดท้ายก็คือ โน้ตบุ๊กเครื่องที่สองที่มีขนาดกะทัดรัด ในราคาย่อมเยา แตใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลกับโน้ตบุ๊กเครื่องแรกได้อย่างง่ายดายอีกด้วยหลายคนคงไม่มีใครปฏิเสธว่า โน้ตบุ๊กยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร มักจะยิ่งมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ประสิทธิภาพก็ไม่เท่ากับเครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งในท้ายที่สุดผู้บริโภคที่เลือกใช้โน้ตบุ๊กขนาดเล็ก มักจะลงเอยด้วยการมองหาเดสก์ทอป หรือโน้ตบุ๊กที่มีขนาดใหญ่กว่าไว้ทำงานหลักอยู่ดี แต่ด้วยเทคโนโลยี CPU รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันที่มีประสิทธภาพมากขึ้น ในขณะที่ใช้พลังงานน้อยลง แถมยังมีราคาที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะรุ่นที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การสร้างโน้ตบุ๊กที่มีขนาดเล็ก ซึ่งหมายถึงโน้ตบุ๊กเครื่องที่สองที่สะดวกพกพาติดตัว ใช้งานได้นาน และทุกที่ที่ต้องการ ในขณะที่สามารถทำงานร่วมกับโน้ตบุ๊กเครื่องหลักได้อีกด้วย พบกับคำตอบโน้ตบุ๊กเครื่องที่สองผู้บริโภคต้องการได้ในงาน COMMART X’Gen 2008 วันที่ 12-15 มิถุนายน ณ.ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เขียนซีดีให้ได้ Over ถึง 850 MB
ปกติแล้วแผ่นซีดี 1 แผ่นจะเก็บข้อมูลได้สูงสุดไม่เกิน 700 MB แต่วันนี้นายเกาเหลาจะขอสร้างปาฏิหาริย์ ด้วยการเขียนข้อมูลให้ได้ความจุถึง 850 MB บอกก่อนนะครับว่าไม่ได้โม้ แต่ทำได้จริง ก่อนอื่น CD-Writer ของคุณจะต้องรองรับเขียนแผ่นแบบ Overburn หรือเขียนแบบ Oversize ได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว CD-Writer ในปัจจุบันก็สามารถใช้งานแบบนั้นได้อยู่แล้ว (นอกเสียจากว่า CD-Writer จะเป็นรุ่นเจ้าคุณทวด อันนี้ก็คงต้องบายทิปนี้ไป)
คราวนี้ให้เปิดโปรแกรม Nero Express ไปเมนู Configure แล้วไปที่ TAB General จากนั้นมาที่รายการ Status bar ในหัวข้อ Yellow marker ใส่ตัวเลข 80 ส่วนช่อง Red marker ใส่ตัวเลข 99 จากนั้นมาที่ TAB Expert Features ใส่เครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Enable Overburn Disk- at- onc และในช่อง Maximum CD size ใส่เลข 99 ลงไปครับ ที่นี้เรามาลองเขียนแผ่นซีดีดู โดยตัวอย่างนี้ผมจะเลือกไฟล์ขนาด 850 MB มาลองเขียนลงไปบนแผ่นซีดีขนาด 700 MB อย่าลืมเลือกการเขียนแผ่นแบบ Disk-at-once จากนั้นก็ Burn แผ่นได้เลย
ระบบจะแจ้งว่า Over Burn Writing ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจอะไรเพราะนี่คือการเขียนเกินขอบเขตของระบบ ทำให้คอมพ์มันถามยืนยันว่าจะเขียนแน่เหรอ...เราก็ตอบไปว่าแน่นอน โดยกดที่ปุ่ม Write Overburn Disc แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับท่าน
แน่นอนว่าเมื่อมีดีมันก็ย่อมมีเสีย โดยข้อเสียของการทำ Overburn คือ มันอาจจะทำให้มีการกระตุก หากมีการใช้งานกับไดรฟ์ CD-Rom บางรุ่น (ที่อาจจะไม่รองรับการเขียน-อ่าน Overburn) หรือบางทีอาจจะอ่านไม่ได้เลยก็มีเพราะมันไม่สามารถเคลื่อนหัวอ่านไปถึงพื้นที่บางจุดบนแผ่น เช่น ขอบด้านนอกของแผ่น เป็นต้นครับ...แต่ถ้าจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลใหญ่ๆ เช่นนี้จริงๆ นายเกาเหลาว่าข้อดียอมมีกว่าข้อเสียนะครับ
คราวนี้ให้เปิดโปรแกรม Nero Express ไปเมนู Configure แล้วไปที่ TAB General จากนั้นมาที่รายการ Status bar ในหัวข้อ Yellow marker ใส่ตัวเลข 80 ส่วนช่อง Red marker ใส่ตัวเลข 99 จากนั้นมาที่ TAB Expert Features ใส่เครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Enable Overburn Disk- at- onc และในช่อง Maximum CD size ใส่เลข 99 ลงไปครับ ที่นี้เรามาลองเขียนแผ่นซีดีดู โดยตัวอย่างนี้ผมจะเลือกไฟล์ขนาด 850 MB มาลองเขียนลงไปบนแผ่นซีดีขนาด 700 MB อย่าลืมเลือกการเขียนแผ่นแบบ Disk-at-once จากนั้นก็ Burn แผ่นได้เลย
ระบบจะแจ้งว่า Over Burn Writing ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจอะไรเพราะนี่คือการเขียนเกินขอบเขตของระบบ ทำให้คอมพ์มันถามยืนยันว่าจะเขียนแน่เหรอ...เราก็ตอบไปว่าแน่นอน โดยกดที่ปุ่ม Write Overburn Disc แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับท่าน
แน่นอนว่าเมื่อมีดีมันก็ย่อมมีเสีย โดยข้อเสียของการทำ Overburn คือ มันอาจจะทำให้มีการกระตุก หากมีการใช้งานกับไดรฟ์ CD-Rom บางรุ่น (ที่อาจจะไม่รองรับการเขียน-อ่าน Overburn) หรือบางทีอาจจะอ่านไม่ได้เลยก็มีเพราะมันไม่สามารถเคลื่อนหัวอ่านไปถึงพื้นที่บางจุดบนแผ่น เช่น ขอบด้านนอกของแผ่น เป็นต้นครับ...แต่ถ้าจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลใหญ่ๆ เช่นนี้จริงๆ นายเกาเหลาว่าข้อดียอมมีกว่าข้อเสียนะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)